วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559
chinamusic 2
บทความเรื่อง การสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหู้ของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุคนธา ขันเสนาะ
สาขาวิชา ดนตรี (ดนตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. มนัส วัฒนไชยยศ
กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์
ดร.สุชาติ แสงทอง
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน
กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มนักดนตรีที่ฝึกปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 10 คนผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 50.00 /85.33 2)หลังจากที่กลุ่มทดลองได้เรียนด้วยชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์พบว่ามีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
This research aims to create a set
of teaching practices,techniques Sor err hoo of Taparak-Taptim temple at Nakhonsawan province. According to the
performance criteria of 80/80
and compare the achievement before and
after learning the instruction set. Experimental is a group of musicians
at practicing Sor err
hoo of Taparak-Taptim temple at
Nakhonsawan province about
10 people. We found 1.The effective
teaching of 50.00/85.33 2. After
the experimental group had
learned a set of
teaching practices,techniques Sor err hoo of Taparak-Taptim temple
at Nakhonsawan province. Found that
have scored more
before study statistically
significant at the .05
level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มนักดนตรีที่ปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มนักดนตรีที่ฝึกปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 10 คนใช้เวลาในการทดลองจำนวน 20
ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์ของครูผู้สอนและชุดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในด้านทฤษฎี
(ความรู้)ทั้งก่อนและหลังใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ50.00/85.33และด้านทักษะ(การปฏิบัติ)มีประสิทธิภาพเท่ากับ
48.00/92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
โดยแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน (Pre – test) หลังเรียน
(Post – test) แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทั่วไปในด้านทฤษฎีและแบบประเมินเพื่อวัดความสามารถในด้านปฏิบัติซอเอ้อหู
ผลการวิจัย พบว่า
ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
จังหวัดนครสวรรค์ในด้านทฤษฎี (ความรู้)ก่อนใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ
50.00 หลังใช้เท่ากับ 85.33 ด้านทักษะ
(การปฏิบัติ)ก่อนใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 48.00 หลังใช้เท่ากับ 92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 กลุ่มนักดนตรีที่ได้รับการจัดการเรียนสอนโดยใช้ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
จังหวัดนครสวรรค์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.
การสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพโดยรวมภาคทฤษฎี (ความรู้) เท่ากับ 50.00/ 85.33 หมายความว่า
คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-3 ของชุดการสอน คะแนนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
50.00
และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
85.33 และมีประสิทธิภาพโดยรวมภาคทักษะ (การปฏิบัติ) เท่ากับ 48.00/ 92.00 หมายความว่า
คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาคทักษะ (การปฏิบัติ) ระหว่างเรียนในแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4-9 ของชุดการสอนฯ คะแนนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ48.00 และคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาคทักษะ
(การปฏิบัติ) หลังเรียนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้และสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าเนื้อหาในแต่ละบทเรียนได้ถูกนำมาวิเคราะห์แยกออกให้ละเอียดยิ่งขึ้นสอนแบบตัวต่อตัวเพราะจำนวนนักดนตรีมีไม่มากนัก
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
China Music
บทความเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหว
ของสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย นายมงคล รอพันธ์
สาขาวิชา ดนตรี (ดนตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. มนัส วัฒนไชยยศ
กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์
ดร.สุชาติ แสงทอง
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย
1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคม ไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์
2.
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนใช้และหลังใช้ชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ
จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนของกลุ่มดนตรีจีนสมาคมไหหนำ
จังหวัดนครสวรรค์ที่ฝึกปฏิบัติปี่โหวจำนวน 10 คน โดยการใช้ชุดกิจกรรมการสอน
ปฏิบัติปี่โหว ผลการวิจัยพบว่า
ชุดกิจกรรมการสอนมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 50.00/81.33
และนักเรียนของกลุ่มดนตรีจีนสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัตินี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
This research are
aims to 1. Develop a set of teaching activities practice in Pee-hol of Hinan
association at Nakhonsawan province, 2. To compare the achievement in before and after by use the set of teaching activity
practice in pee-hol of Hinan association at Nakhonsawan province, The samples
were ten students of Chinese musical group in Hinan association to practice
pee-hol; The results showed that the
set of teaching activity are effectively
of 50.00/81.33 and the group of students of Chinese music in Hinan association
at Nakhonsawan province ,who have been teaching by using this set of teaching
activities practice have an achievement after learning higher than before
learning statistically significant at the .05 level.
ชุดกิจกรรมการสอนเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคม ไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการประยุกต์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีความสนใจเกี่ยวกับดนตรีจีนและสามารถใช้สอนเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มได้ตามความเหมาะสมของผู้สอน
โครงสร้างแผนการสอน
เรื่อง
การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์
ตารางที่ 1 การกำหนดหน่วยการเรียนรู้รายวิชาการปฏิบัติดนตรี จำนวน 20 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
/ เนื้อหาย่อย
|
เวลา (ชั่วโมง)
|
1
|
ประวัติความเป็นมาของดนตรีจีน
1.
ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีจีน
|
(1)
1
|
2
|
ทฤษฏีโน้ตเบื้องต้น
1.
ทฤษฎีโน้ตไทย
2. ระบบโน้ตตัวเลข
|
(2)
1
1
|
3
|
เทคนิคการฝึกปฏิบัติขั้นพื้นฐาน
1. การฝึกปฏิบัติขลุ่ยจีนขั้นพื้นฐาน
2. การฝึกปฏิบัติปี่โหวขั้นพื้นฐาน
|
(4)
2
2
|
4
|
การฝึกปฏิบัติปี่โหวเพลงเต้นกลางสายฝน
- เทคนิคการเป่าเสียงสั้น
- เทคนิคการเป่าซ้ำเสียง
|
(4)
|
5
|
การฝึกปฏิบัติปี่โหวเพลงสาวส่งชา
- เทคนิคการเป่าเสียงสั้น
- เทคนิคการเป่าเสียงยาว
- เทคนิคการเป่าเรียงเสียงขึ้น
- เทคนิคการเป่าเรียงเสียงลง
|
(4)
|
6
|
การฝึกปฏิบัติปี่โหวเพลงอวยพร
- เทคนิคการเป่าเสียงสั้น
- เทคนิคการเป่าข้ามเสียง
- ทำแบบทดสอบหลังเรียน
|
(5)
|
รวม
|
20
|
ประวัติความเป็นมาของปี่โหว
ภาพปี่โหว
ที่มา : ผู้วิจัยบันทึก 19/01/56
ปี่โหวมีอีกชื่อเรียกว่า
ปี่ไม้ไผ่ เป็นปี่ 2 ลิ้นชนิดหนึ่งที่ทำบนพื้นฐานปี่พื้นเมืองของจีน ตอนแรกเริ่มที่มีปี่ไม้ไผ่นั้น
เป็นเครื่องมือที่พ่อค้าตามถนนใช้โฆษณาสินค้าของตนในมณฑล กวางตุ้ง ถึงปลายทศวรรษ 1920 ดนตรีกวางตุ้งและงิ้วกวางตุ้งได้เริ่มใช้ปี่ไม้ไผ่
จนแพร่หลายในเขตกวางตุ้งและกวางสีซึ่งชาวไหหนำรู้จักกันดีในชื่อ“ดั๊ด”
โครงสร้างของปี่ไม้ไผ่เป็นแบบง่ายๆ
ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ลิ้นปี่ ตัวปี่และปากแตร ลิ้นปี่ทำด้วยหลอดต้นอ้อหรือต้นกก
โดยปากค่อนข้างกว้าง ลิ้นปี่ 2 ชิ้นค่อนข้างหน้า ตัวปี่ทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ดำ ไม้แดง
ไมัธรรมดา หลอดพลาสติกหรือหลอดโลหะ ปี่ไม้ไผ่มีเสียงดีที่สุด ในตัวเลาปี่มีรู 7 รู
ข้างล่างของตัวปี่เป็นปากแตรที่ทำด้วยทองเหลืองบางๆ
เพื่อขยายเสียงและประดับปี่ด้วย
เสียงของปี่โหหรือปี่ไม้ไผ่คล้ายๆเสียงของปี่ธรรมดา เสียงทุ้มต่ำ ฟังเหมือนมีเสียงขึ้นจมูกเล็กน้อย มักจะบรรเลงด้วยกันกับซอเสียงกลางและซอเสียงต่ำเพื่อเสริมเสียงกลางและเสียงต่ำ ในวงดนตรี
เสียงของปี่โหหรือปี่ไม้ไผ่คล้ายๆเสียงของปี่ธรรมดา เสียงทุ้มต่ำ ฟังเหมือนมีเสียงขึ้นจมูกเล็กน้อย มักจะบรรเลงด้วยกันกับซอเสียงกลางและซอเสียงต่ำเพื่อเสริมเสียงกลางและเสียงต่ำ ในวงดนตรี
การฝึกปฏิบัติปี่โหว
ปี่โหวนั้นมีระดับเสียงเหมือนกันกับขลุ่ยเป่าตรงเพียงแต่ว่าปี่โหวนั้นจะใช้ลิ้นปี่เพื่อเป่าทำให้เกิดเสียงซึ่งจะแตกต่างกับขลุ่ยเป่าตรงที่เสียงเกิดจากลมเป่าผ่านเข้าที่ลำตัวของขลุ่ยโดยตรง ปี่โหวของชาวจีนเชื้อสายไหหลำนี้ที่นิยมใช้กันมี 2
ขนาด
ชาวจีนเชื้อสายไหหลำ
จะเรียกกันว่า
ปี่เสียงโดกับปี่เสียงซอล
สำหรับปี่โหวเสียงโดนั้นจะมีขนาดใหญ่ส่วนปี่โหวเสียงซอลนั้นมีขนาดที่เล็กกว่า
ในการเรียกและการจำแนกปี่โหวสองชนิดนั้นมีที่มาจากเสียงของการเป่าเรียงเสียงแรกนั่นเอง กล่าวคือปี่เสียงซอลนั้นก็จะขึ้นต้นลำดับเสียงแรกที่เสียงซอล เรียงลำดับเสียงไล่ไปจาก ซ
ล ท ด
ร ม ฟ
เรียงเป็นลำดับ
ส่วนปี่เสียงโดก็จะขึ้นต้นด้วยเสียงโด
เรียงลำดับเสียงไล่ไปจาก ด ร
ม ฟ ซ
ล ท เรียงตามลำดับ
ส่วนอื่นๆในเรื่องของเทคนิควิธีการเป่านั้น ปี่โหวทั้งสองขนาดใช้เทคนิควิธีการที่เหมือนกันจะแตกต่างกันตรงที่ตำแหน่งของเสียงอยู่ต่างกันเท่านั้นเอง
ปี่โหวเสียงซอลมีรูปร่างลักษณะและระดับเสียงดังนี้
ลักษณะการปฏิบัติปี่โหวเสียง
“ซอล”
ภาพแสดงประกอบการสาธิตการเป่าปี่โหวโดยเด็กชายอภิสิทธิ์
ทับพุ่ม นักเรียนฝึกปฏิบัติ ปี่โหวของสมาคมไหหนำ
จังหวัดนครสวรรค์
ภาพที่ 1 การเป่าปี่โหวเสียงซอลต่ำ ภาพที่ 2 การเป่าปี่โหวเสียงลา ภาพที่ 3 การเป่าปี่โหวเสียงที
ภาพที่ 4 การเป่าปี่โหวเสียงโด ภาพที่ 5 การเป่าปี่โหวเสียงเร ภาพที่ 6 การเป่าปี่โหวเสียงมี
ภาพที่
7 การเป่าปี่โหวเสียงฟา ภาพที่ 8 การเป่าปี่โหวเสียงซอลสูง
ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติโดยการเป่าตามที่ครูอธิบายทีละเสียง
ปฏิบัติทีละเสียงตามภาพจนสามารถเป่าเสียงต่างๆของปี่โหวได้อย่างชัดเจน
ทั้งเสียงรากยาวและการเป่าลักษณะเสียงสั้น
ตัวอย่างการเป่าปี่โหวรากเสียงยาว
- -
- ด
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- 1
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- -
- -
|
- - - -
|
ตัวอย่างการเป่าปี่โหวเสียงสั้น
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- - - ด
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
- -
- 1
|
ตัวอย่างการเป่าปี่โหวเรียงเสียงขึ้น
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- ด ร ม
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
- 1 2
3
|
ตัวอย่างการเป่าปี่โหวเรียงเสียงลง
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- ม ร ด
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
- 3 2
1
|
ผู้ฝึกปฏิบัติปี่โหวเมื่อฝึกเป่าขลุ่ยตรงได้แล้วก็จะเริ่มฝึกเป่าปี่โหวโดยการฝึกเป่าควบคุมลมให้ได้ระดับเสียง “เต็มเสียง” หรือการเป่าเสียงแต่ละเสียงให้ชัดเจนนั่นเอง หลังจากที่ผู้เรียนสามารถเป่าเสียงแต่ละเสียงของปี่โหวได้ชัดเจนครบทุกเสียงแล้ว ก็ให้เริ่มฝึกเป่าเสียงยาว เสียงสั้นหลังจากที่ผู้เรียนสามารถเป่าเสียงยาวและเสียงสั้นได้แล้วก็ถือได้ว่าผู้เรียนสามารถควบคุมลมในการบังคับเสียงของปี่โหวได้ ครูผู้สอนให้นักเรียนฝึกเป่าเรียงเสียง จากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือที่เรียกว่า “การเป่าเรียงเสียงสุง”
เมื่อสามารถเป่าเรียงเสียงสูงได้แล้วผู้สอนจะให้นักเรียนฝึกเป่า “เรียงเสียงต่ำ” คือการเป่าเรียงเสียงจากเสียงสูงลงมาหาเสียงต่ำดั่งตัวอย่างที่ยกมาให้ในข้างต้น
ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติเป่าปี่โหวได้ตามลำดับขั้นตอนที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นตามตารางตัวอย่าง
สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ผลการทดลอง
สรุปได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการสอนฯ ภาคทฤษฎี (ความรู้) มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 50.00/81.33 และภาคทักษะ(การปฏิบัติ) มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ
31.86/ 95.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพในการทดลองใช้นวัตกรรม ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับ
80/ 80
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี(ความรู้)ของนักเรียนกลุ่มดนตรีจีน ของสมาคมไหหนำโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 15 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
2.88) คิดเป็นร้อยละ 50.00
ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
24.4 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.17) คิดเป็นร้อยละ 81.33 คะแนนประเมินภาคทักษะ(การปฏิบัติ)ระหว่างเรียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ
จังหวัดนครสวรรค์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 23.9
(ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.93) คิดเป็นร้อยละ 31.86 ส่วนคะแนนประเมินภาคทักษะ
(การปฏิบัติ) หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
71.6
(ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.77) คิดเป็นร้อยละ 95.46
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากการศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ได้รับแนวความคิดในการดำเนินการพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปี่โหวให้ประสบความสำเร็จนั้น
ผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการปฏิบัติ
โดยครูสาธิตทุกแบบฝึกหัดและใช้สื่อของจริงและสื่ออื่นๆ ประกอบการเรียนตามความเหมาะสมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
เมื่อพบปัญหาหรือข้อผิดพลาดครูต้องให้คำแนะนำและแก้ไขโดยทันที
พร้อมกับให้กำลังใจและชื่นชมบ่อยๆเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้ดีและเมื่อนักเรียนมีความสามารถในระดับหนึ่ง
ครูควรหาเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกเพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียน นอกจากนี้ครูควรเป็นกันเองและเป็นที่ปรึกษาได้ในทุก
ๆ ด้าน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความรักความไว้ใจและศรัทธาในตัวครู
รวมถึงต้องสื่อการเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนในที่สุด
จากการวิจัยเกี่ยวกับชุดกิจกรรมการสอนและผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพ
มีการจัดเนื้อหา เวลา กิจกรรม
ตลอดจนการประเมินผลที่เหมาะสมนั้น
ช่วยทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีและสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการที่ได้ดำเนินการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าในการพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนฯ ให้เกิดประสิทธิภาพผู้วิจัยควรพิจารณาดังนี้
1.
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1
ครูผู้สอนควรมีกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น หนังสืออ่านเพิ่มเติม
สื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับด้านดนตรีต่างๆให้กับนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมระหว่างรอเพื่อนหรือช่วงที่มีเวลาว่าง
1.2
ผู้สอนควรเพิ่มเติมการอธิบายเสริมอาจจะเป็นการยกตัวอย่างเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเนื้อหาที่มีในเอกสารประกอบการสอน
เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
1.3
การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนฯ
ประกอบคำบรรยายนั้น ควรใช้ภาษา ที่เข้าใจง่ายเป็นข้อความสรุปสั้นๆ
และควรมีภาพประกอบเนื้อหา เพื่อสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
1.4
การสอนการปฏิบัติปี่โหว
ผู้สอนควรสังเกตนักเรียนว่าคนใดยังไม่สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนควรจัดกิจกรรมเสริมหรือจัดกิจกรรมพิเศษเพิ่มนอกเหนือจากเวลาเรียนในปกติก็จะทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและผู้เรียนสามารถเรียนและพัฒนาได้ทันผู้อื่น
2.
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป
2.1
ผู้วิจัยได้ศึกษาวงดนตรีของสมาคมไหหนำจังหวัดนครสวรรค์พบว่ายังมีเพลงอีกหลายเพลงซึ่งถูกนำมาใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันจึงควรมีการพัฒนาและต่อยอดให้ครอบคลุมบทเพลงทั้งหมดเพื่อให้สามารถรักษาบทเพลงจีนเชื้อสายไหหนำไว้ให้ได้มากที่สุด
2.2
ควรมีการอธิบายและศึกษาอย่างเจาะลึกหลักเกี่ยวกับทฤษฎีโน้ตตามแบบจีนไหหนำ
ทั้งลักษณะของการจดบันทึก การอ่าน และการนำไปใช้
เพื่อเพิ่มความเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
2.3
ผู้วิจัยควรทำการศึกษาวิจัยเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรม การสอนปฏิบัติปี่โหวของสมาคมไหหนำ จังหวัดนครสวรรค์ด้วย
|
บรรณานุกรม
กรกฏ วงศ์สุวรรณ. (2549).
กระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของปราชญ์ชาวบ้านใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต. ภาควิชาพัฒนศึกษา.
มหาวิทยาลัยศิลปากร
กรมวิชาการ.
(2545). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะสาระดนตรี. กรุงเทพมหานคร :
|
|
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
|
จเร
อู่แก้ว. (2549). กระบวนการเรียนการสอนปี่ใน
ในสถาบันอุดมศึกษา.ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต.
มหาวิทยาลัยมหิดล
จิติกานต์ จินารักษ์. (2551).กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธ์ ถาวร กรณีศึกษาชุดเพลินเพลงพาทย์ระนาดเอก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล
สมาคมไหหนำ.(2552).หนังสือที่ระลึกงานเปิดสมาคมไหหนำนครสวรรค์.
คณะกรรมการสมาคม
ไหหนำนครสวรรค์
12 ธันวาคม 2552
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549).แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียน
การสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2544.
กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา.
อานันท์ นาคคง. (2553). ประวัติศาสตร์ดนตรีจีน. [On-line]. Available:http://www. numtanpc.blogspot.com(2555, เมษายน 16)
Bloom, Benjamin S.(1976).Human Characteristic and School
Learning. New york :Mcgraw
– Hill.
Dewey, John. (1963).Experience
and education. New york : Macmillan Publishing Company.
Flutehistory.com. (2009).
Boehm-system flutes. [On-line].
Available:
http://www.flutehistoty.com/Instrument/Boehm.php3
(2009, April 16)
Flutehistory.com. (2009).
Theobald Boehm. [On-line].
Available:
http://www.flutehistory.com/players/theobald_boehm/index.php3
(2009, April 16)
Good, Carter. V.(1973).Dictionary of Education. 3 edNew
york :Mcgraw – Hill.
Gordon, L. Modules. (1973).O-A. Florida :Departmant
of Education.
He Shengqi.(1996). Flute etude 100 lessons. China : People's Music.
Houston, and others. (1972).Development Instruction
Modules. Texas :College of Education ,
University of Texas.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)