บทความเรื่อง การสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหู้ของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุคนธา ขันเสนาะ
สาขาวิชา ดนตรี (ดนตรีศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. มนัส วัฒนไชยยศ
กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์
ดร.สุชาติ แสงทอง
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน
กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มนักดนตรีที่ฝึกปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 10 คนผลการวิจัยพบว่า 1)ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 50.00 /85.33 2)หลังจากที่กลุ่มทดลองได้เรียนด้วยชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์พบว่ามีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
This research aims to create a set
of teaching practices,techniques Sor err hoo of Taparak-Taptim temple at Nakhonsawan province. According to the
performance criteria of 80/80
and compare the achievement before and
after learning the instruction set. Experimental is a group of musicians
at practicing Sor err
hoo of Taparak-Taptim temple at
Nakhonsawan province about
10 people. We found 1.The effective
teaching of 50.00/85.33 2. After
the experimental group had
learned a set of
teaching practices,techniques Sor err hoo of Taparak-Taptim temple
at Nakhonsawan province. Found that
have scored more
before study statistically
significant at the .05
level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพรักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มนักดนตรีที่ปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มนักดนตรีที่ฝึกปฏิบัติซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 10 คนใช้เวลาในการทดลองจำนวน 20
ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมจังหวัดนครสวรรค์ของครูผู้สอนและชุดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในด้านทฤษฎี
(ความรู้)ทั้งก่อนและหลังใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ50.00/85.33และด้านทักษะ(การปฏิบัติ)มีประสิทธิภาพเท่ากับ
48.00/92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
โดยแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน (Pre – test) หลังเรียน
(Post – test) แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทั่วไปในด้านทฤษฎีและแบบประเมินเพื่อวัดความสามารถในด้านปฏิบัติซอเอ้อหู
ผลการวิจัย พบว่า
ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
จังหวัดนครสวรรค์ในด้านทฤษฎี (ความรู้)ก่อนใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ
50.00 หลังใช้เท่ากับ 85.33 ด้านทักษะ
(การปฏิบัติ)ก่อนใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 48.00 หลังใช้เท่ากับ 92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 กลุ่มนักดนตรีที่ได้รับการจัดการเรียนสอนโดยใช้ชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
จังหวัดนครสวรรค์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.
การสร้างชุดการสอนปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหูของศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม จังหวัดนครสวรรค์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพโดยรวมภาคทฤษฎี (ความรู้) เท่ากับ 50.00/ 85.33 หมายความว่า
คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-3 ของชุดการสอน คะแนนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
50.00
และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
85.33 และมีประสิทธิภาพโดยรวมภาคทักษะ (การปฏิบัติ) เท่ากับ 48.00/ 92.00 หมายความว่า
คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาคทักษะ (การปฏิบัติ) ระหว่างเรียนในแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4-9 ของชุดการสอนฯ คะแนนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ48.00 และคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินภาคทักษะ
(การปฏิบัติ) หลังเรียนของนักดนตรีทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้และสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าเนื้อหาในแต่ละบทเรียนได้ถูกนำมาวิเคราะห์แยกออกให้ละเอียดยิ่งขึ้นสอนแบบตัวต่อตัวเพราะจำนวนนักดนตรีมีไม่มากนัก
โดยเริ่มจากเนื้อหาที่มีความยากง่ายไม่ซับซ้อนตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเทคนิคพิเศษในการปฏิบัติเทคนิคซอเอ้อหู นักดนตรีจึงได้เรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาจากง่ายไปสู่ยากและเทคนิคพิเศษตามลำดับ
และเนื่องด้วยชุดการสอน นี้ได้จัดทำในรูปของสื่อประสม
ซึ่งเป็นการนำสื่อการเรียนรู้หลายอย่างมาสัมพันธ์กันตั้งแต่ สื่อตัวผู้สอน
สื่อเอกสาร สื่ออุปกรณ์ดนตรี ซึ่งแต่ละชนิดมีจุดเด่นที่สนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่อกัน
จึงทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสนใจที่จะเรียนรู้จนจบเนื้อหาซึ่งสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีและจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการผลิตชุดเอกการสอน
ทฤษฎีของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey. 1963) เชื่อว่า
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการกระทำ หรือ Learning by Doing อันเป็นแนวคิดที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับทั่วโลกมานานแล้ว
ซึ่งแต่เดิมมาการศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้มุ่งศึกษาปัจจัยภายนอกของผู้เรียนได้แก่
ตัวแปรเกี่ยวกับครู การแสดงออก ความกระตือรือร้น และการชมเชย
ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการมุ่งศึกษาปัจจัยภายในของผู้เรียน
ได้แก่ความรู้ความเข้าใจเดิมของผู้เรียน มโนทัศที่คลาดเคลื่อน ความจำ
ความสามารถในการจัดกระทำข้อมูล การเสริมแรง ความตั้งใจ และแบบแผนทางปัญญา
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภายในมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน
ข้อความนี้ไปสอดคล้องกับปรัชญา Constructivism ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมพยายามที่จะนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญาหรือที่เรียกว่า
Schema โครงสร้างทางปัญญานี้ประกอบด้วยความหมายหรือความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลมีประสบการณ์
อาจเป็นความเชื่อ ความเข้าใจ คำอธิบาย ความรู้ของบุคคลนั้น ก่อนที่จะฝึกหัดนักเรียนควรจัดวางท่าทางให้เรียบร้อยและให้ปรับปรุงจุดเชียจินสูงต่ำอย่างเหมาะสม
โดยตั้งศอกติดกับกระบอกซอตรงตั้งกับคันซอ แล้วขยับเชียนจินตรงตำแหน่งข้อนิ้วที่ 3
ของนิ้วกลาง ควบคุมซอ ไหล่ซ้ายต้องกลมจากธรรมชาติ
ท่าทางคล้ายการกอดตุ๊กตา บริเวณข้อศอกไม่ยกให้สูงควรอยู่ในมุม 45 องศา ข้อมือโป่งขึ้นเล็กน้อยให้ตั้งคันซอในตำแหน่งริองนิ้วของนิ้วหัวโป้งและนิ้วชี้
นิ้วมือปล่อยสบายในท่ากำมือครึ่งหนึ่งปลายนิ้วมือกดสายซอ
นิ้วแต่ละนิ้วจะต้องอยู่ตามจุดที่กำหนด
ภาพที่
1 การใช้นิ้วที่ 1 กดเสียง มี และ ลา
ภาพโดย
สุคนธา ขันเสนาะ.18/5/56
ภาพที่
2 การใช้นิ้วที่ 1 กดเสียง มี,ลา ด้านหลังมือ
ภาพโดย
สุคนธา ขันเสนาะ.18/5/56
ข้อควรระวังบริเวณร่องนิ้วมือซ้าย
ต้องวางใกล้กีบเชียนจิน บริเวณข้างล่างประมาณ 1 นิ้ว แต่ละส่วนของนิ้วต้องงออย่างธรรมชาติ
(นอกจากนิ้วก้อย) ห้ามเกร็ง
และไม่ควรงอเกินไปนัก เพื่อหลีกเลี่ยงนิ้วมือเกร็งต้องเน้นธรรมชาติ
นิ้วโป้งต้องควบคุมโดยกางเล็กน้อยอย่างสบาย อกย่าได้งอลงเพื่อเหนี่ยวคันซอไว้
การเคลื่อนไหวของนิ้วมือ
ต้องเน้นมือที่สาม (ดูภาพที่ 4.1.2) เคลื่อนไหวเป็นหลัก ส่วนข้อมือเป็นการเคลื่อนช่วย
โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของนิ้วมือที่รวดเร็ว
จำเป็นต้องพึ่งข้อนิ้วและข้อมือเป็นจุดสำคัญของการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
นอกจากนี้เวลากดสายมีความรู้สึกคล้ายสปริง ตีที่สาย
ไม่ใช่เป็นการกดอย่างเกร็งลำดับของนิ้วมือนิ้วชี้เป็นนิ้วที่ 1 นิ้วกลางเป็นนิ้วที่ 2 ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยแบ่งออกเป็นนิ้วที่
3 และนิ้วที่ 4 นักเรียนทุกคนสามารถมองจากภาพที่
4.1.3 นิ้วที่หนึ่งกดเสียงสายนอกคือ “3”
และเสียงสายในคือ “5”
เกี่ยวข้องกับเสียงสายว่างคู่ 2 ดังนั้นเวลาที่กดตำแหน่งเสียงต้องแม่นยำเพื่อเลี่ยงเสียงเพี้ยนสูงหรือเพี้ยนต่ำนอกจากนี้ทุกครั้งที่กดนิ้วในแต่ละตำแหน่งต้องแม่น
ในขณะฝึกหัดนักเรียนต้องตั้งใจฟังแยกเสียงที่ตัวเองบรรเลง
ครูผู้ฝึกสอนต้องแยกแยะความถูกต้อง และความเร็ว
เพื่อให้จดจำบันไดเสียงที่แม่นและถูกต้อง
1.กดเสียง
(อ้านอิน)
การกดเสียง คือ
พื้นฐานของการใช้นิ้วที่คล่องแคล่วของซอเอ้อหู คือการกำหนดฝีมือที่สำคัญ และนิ้วที่แม่นยำของการบรรเลง
เครื่องหมายการกดเสียงกำหนด โดนขั้นตอนของนิ้วและเครื่องหมายของโน้ตเพลงนิ้วชี้คือ
นิ้วที่ 1,นิ้วกลางคือนิ้วที่ 2,นิ้วนางคือนิ้วที่ 3,นิ้วก้อยคือนิ้วที่ 4เวลาที่นักเรียนสีซอเอ้อหูเบื้องต้น
ซึ่งสำคัญคือท่านั่งและวิธีควบคุมซออย่างถูกต้อง ของตำแหน่งนิ้วช่วงบนเทคนิคการกดเสียง
(ตำแหน่งของนิ้วมือข้างซ้ายแบ่งออกเป็น4-5 ช่วง คือ ช่วงบน
ช่วงกลาง ช่วงล่าง ช่วงล่างสุด) สายในคือ “ซอล” สายนอกคือ “เร”
ช่วงบนมีบันไดเสียงที่สมบูรณ์ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสายในหรือสายนอกซอ นิ้วที่ 2
และนิ้วที่ 3 ระยะห่างของนิ้ว คือเหมือนกัน
ดังนั้นการควบคุมเสียงจะง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพคือ 1.เสียงไม่เพี้ยน
2.วางตำแหน่งนิ้วได้ง่ายขึ้น 3.จำตัวโน๊ตง่าย
ครูผู้สอนสมควรสอนให้นักเรียนใช้สายตาชำเลืองมอง ระยะห่างของการวางนิ้ว
และใช้หูตั้งใจฟังแยกแยะถึงความแม่นยำของเสียงสูงต่ำ
เวลาจำเป็นสามารถอาศัยเครื่องดนตรีที่กำหนดเสียงแน่นอนเพื่อแยกความแม่นยำของเสียง
วิธีการลดเสียงต้องเข้มงวด ไม่อย่างนั้นกลายเป็นความเคยชินที่ไม่ดี
เวลากดเสียงต้องระวัง นิ้วมือข้างซ้ายแต่ละนิ้วควรปล่อยตามธรรมชาติ
มือควรอยู่องศาเอียงลาด
นิ้วมือที่วางตำแหน่งเสียงซอควรใช้ปลายเนื้อที่หนาจะดีที่สุด
นิ้วหัวแม่มือต้องปล่อยตามธรรมชาติให้กลางออก เวลาที่นิ้วมือเคลื่อนไหวขึ้นลง
ตรงสายซอ ต้องเน้นตรงข้อนิ้วมือเป็นหลักเคลื่อนไหว การใช้แรงต้องเหมาะสม
การเคลื่อนไหวของนิ้วต้องเต็มไปด้วยความคล่องแคล่ว มีแรงสปริง ขณะมือกดสายซอนั้น
นิ้วอื่นๆที่ไม่ได้กดสายให้รออยู่บนสายซอ เพื่อเตรียมที่จะกดเสียง
และอย่าได้ตั้งนิ้วตรงไปหรือคดงอเกินไปต้องปล่อยตามสบาย ท่าทางตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความถนัดของนิ้ว
2.นิ้วควบคุม
(เป่าหลิวจื่อ)
นิ้วที่บรรเลงและควบคุม คือ การวางนิ้วมือที่กดเปลี่ยนเสียง
โดยใช้วิธีการวางนิ้วมืออยู่ตรงคีย์ “D” คือ “2 3-- 4= 5 四2-- 3= 2 3 4--3四2=1四 1—2=¯ 3 4 “ จุดสำคัญคือ
1.โดยเฉพาะในช่วงไม่ใช้นิ้วมือ วางคุมตำแหน่งบนซอ
แต่เพิ่มให้นิ้วมือช่วยเป็นจุดหลักไว้ ทำอย่างนี้สามารถทำให้ขั้นของเสียงแม่นยำ
และยังเพิ่มความเชื่อมั่นในการกดเสียงด้วย
2.ขณะที่เพิ่มความเร็วของการกดสาย
นิ้วที่ไม่ใช่เสียงหลักให้วางบนสายซอเพื่อความต่อเนื่อง ของตัวโน๊ต เช่น คีย์ “D” “2 3—4=
2—“ นิ้วชี้ให้กดสายไว้ขณะเล่นเสียง 3 ตัวอย่างที่สอง “2—3= 4=¯ 3—“ เวลานั้นนิ้วชี้และนิ้วกลางกดสายไว้ขณะเล่นเสียง “4” 1 2--2= 3=¯
5四4=¯ 3= 2—
สรุป วิธีการควบคุมนิ้ว เกิดประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนคีย์และการเปลี่ยนช่วง
ทำให้มีความสะดวกและความมุ่งมั่นของตำแหน่งนิ้ว
3.การทิ้วเสียง (tr) (จ้านอิน)
การทิ้วเสียง
เรียกว่า เคลื่อนนิ้วหรือตีเสียง ภาษาจีน เรียกว่า “จ้านอิน” คือวิธีการบรรเลงซอเอ้อหู ที่บ่อยที่สุด
ขณะที่ทิ้วเสียงต้องทำลักษณะนิ้วที่งอเวลาเคลื่อนไหว ต้องใช้ปลายนิ้วตีบนสายซอ
เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อการบรรเลงให้เกิดความรู้สึก เช่น
ทิ้วเสียงอยู่ในเพลง “เจียวเหอสุ่ย”
แสดงออกถึงความรู้สึกที่เงียบเหงา ความเศร้าโศก ตัวอย่างต่อไปเป็นเพลง “ซานเหมินเสียฉั่งเสี่ยงฉี่”ทิ้วเสียงนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกถึงคลื่นน้ำที่กระทบอย่างแรง
บางครั้งทิ้วเสียง สามารถตีเร็วหรือช้าลงตามต้องการของเพลง
4.การเอื้อนเสียง
(โหยวอิน)
การสีซอเอ้อหูโดยการเอื้อนเสียง
เป็นวิธีการสำคัญที่สุดที่ทำให้เสียงมีท่วงทำนองที่ไพเราะ ฟังแล้วให้ความรู้สึกที่มีพลัง
เพลงที่แสดงออกมามีทั้ง ดีใจ, โกรธ, เศร้า, แฝงด้วยอารมณ์ในความสุข ในเรื่องของความรู้สึกในใจ
การเอื้อนเสียงแบ่งออกเป็นสามอย่างคือ
การกลิ้งการกดสายและการลื่นสายเวลาที่ใช้สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย
บางครั้งจำเป็นต้องตามอารมณ์ของดนตรี ใช้เทคนิค 3 แบบ ในการเอื้อนรวมและใช้บรรเลงอยู่ในเพลงเดียวกันสามารถแสดงออกถึงความหมายของเพลงมากขึ้น
วิธีการกลิ้ง คือ
การใช้ปลายนิ้วอยู่ในตำแหน่งสายซอ เพื่อกลิ้งเคลื่อนไหวเป็นวิธีอย่างหนึ่ง ของซอที่เปลี่ยนแปลงสั้นยาว
โดยการสั่นสะเทือนของสายซอ ผลลัพธ์คือลื่นไหลคล้ายร้องเพลง เวลาที่บรรเลงเพลงต้องวางปลายนิ้วอยู่ในส่วนจุดเคลื่อนไหวกลิ้งบนลงล่างอยู่บนสายซอ
เพื่อเกิดเสียงสูงต่ำอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการกด คือ
การใช้ปลายนิ้วกดสายซอโดยผ่านแรงที่นิ้วมือกดสายอย่างย้ำๆ
ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสายตึงหย่อน การกดแบบนี้สามารถแสดงออกถึงอารมณ์เพลงที่เศร้าเหมาะกับการบรรเลงเพลงพื้นเมือง
วิธีการลื่นสาย คือ
การใช้ปลายนิ้วที่อยู่บนสายซอเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบนล่าง
อย่างมีข้อกำหนด(ถูบนสายซอ) วิธีการอย่างนี้มีมาจากกลุ่มชาวบ้าน
แสดงถึงเสียงที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอสีสันของชนบท
เวลาที่บรรเลงในจุดสำคัญแต่ละจุดต้องควบคุมท่วงท่าเอาไว้ ผ่านการเคลื่อนไหวนิ้วมือขึ้นๆลงๆบนสายซอ
ทำให้ซอเต็มไปด้วยเสียงที่แฝงคล้ายการฮัมและนิ่มนวล
5.การเปลี่ยนช่วงนิ้วบนสายซอ (ห้วนป่า)
เพื่อให้การบรรเลงเพลงแสดงออกถึงอารมณ์
จำเป็นต้องเปลี่ยนช่วงนิ้วในการบรรเลง การเปลี่ยนช่วงนิ้วมีวิธีการที่ถูกต้อง
โดยใช้หัวไหล่ซ้ายเป็นหลัก โดยเริ่มต้นการเคลื่อนไหวจากข้อมือตามด้วยข้อศอก
ตำแหน่งของนิ้วข้างซ้ายวางอยู่บนสายซออย่างถูกต้อง
ตามแต่ละช่วงในขณะบรรเลงเพลง ซึ่งการบรรเลงเพลงจะมีการเปลี่ยนช่วงนิ้วไปเรื่อยๆ
จนจบเพลง
6.เสียงลื่น (หัวอิน)
การบรรเลงเพลงของซอเอ้อหูมีเทคนิคที่คล่องแคล่วอย่างมาก
คือ เทคนิคการลื่นเสียง
การลื่นเสียงส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกเป็นการลื่นเสียงจากต่ำไปสูง, การลื่นเสียงจากสูงไปต่ำ, การลื่นเสียงหลักขึ้นสูง
หรือลงต่ำ กลับมาที่เดิมและการลื่นเสียงโดยเปลี่ยนนิ้วในขณะที่ลื่นเสียง
7.วิธีการฟ้านอิน
ฟ้านอิน คือ
เทคนิคการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพเสียงของซอ
โดยคุณภาพเสียงจะกังวานเสนาะหูโดยธรรมชาติ เทคนิคมี 2 แบบ
คือเสียงธรรมชาติฟ้านอินและบังคับเสียงให้เกิดฟ้านอิน เสียงใส เสียงสูง
และเสียงที่เล็ก เสียงที่บริสุทธิ์
เสียงธรรมชาติฟ้านอิน
คือเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของความยาวสายซอทั้งหมด โดยใช้นิ้วแตะเบาๆ จุดที่ 1/2, 1/3, 1/4, 1/5, 1/6, 1/7, และ 1/8 เวลาที่บรรเลงนิ้วมือที่กดตามตำแหน่งเสียงต้องแม่นยำ
ปลายนิ้วแตะสายซอเบาๆมือขวาควบคุมการเคลื่อนคันชัก
ทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือนอย่างเต็มที่ หากนิ้วมือซ้ายออกแรง
กดสายซอแรงเกินไปหรือคันชักเบาเกินไป ทำให้มีผลกระทบต่อเสียง ทำให้เสียงฟ้านอิน ไม่สำเร็จหรือกลายเป็นเสียงจริงปกติ
วิธีบังคับให้เกิดฟ้านอิน
คือการใช้นิ้วชี้กดเสียงปกติและนิ้วก้อยแตะสายอย่างเบา
ซึ่งวิธีการกดสายซอของนิ้วก้อยเหมือนกับวิธีการแรก
นิ้วมือสองนิ้วนี้ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับคู่ 4 และคู่ 5
เสียง จึงมีผลอย่างที่ต้องการ
เทคนิคของมือข้างขวา
การสี หรือภาษาจีน
เรียกว่า “กงฟ่า” คือ
เทคนิคการบรรเลงที่คล่องแคล่วส่วนประกอบ
ที่สำคัญของซอเอ้อหู ความเบาในบทเพลง หนัก นุ่ม เร็ว และสะบัด กระเพื่อม
เคลื่อน (เสียงสูงต่ำหนักเบา)เสียงที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญผ่านเทคนิคที่สีแสดงออกมา
โดยเฉเพาะคันชักซอเอ้อหูไม่ใช่ตรงและไม่ใช่
เรียบวางอยู่ตรงกระบอกซอ คันชักวางอยู่ระหว่างกลางของตัวซอ มันไม่ว่องไวเหมือนคันชักของไวโอลีน
ดังนั้น
นักเรียนใช้วิธีการสีเครื่องสาย โดยเฉพาะเทคนิคที่คล่องแคล่วพิเศษ
ซึ่งกุมเครื่องสายบนมือจำเป็นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างลำบาก พูดโดยทั่วไป
พลังที่สีคันชักความเร็วและพลังที่บรรเลงออกมาเปรียบเทียบได้หากพลังยิ่งแรงคันชักยิ่งเร็ว
เสียงเพลงก็ยิ่งดัง ถ้ากลับกันเสียงเล็กเบาลง หากว่าต้องการบรรเลงเสียงเบาลง
จำเป็นต้องลดแรงและสีคันชักให้ช้าลง หากต้องการบรรเลงเสียงดัง
จำเป็นต้องเพิ่มพลังให้เหมาะสมและราบเรียบ
ประมาณว่าเวลาที่สีคันชักสายคันชักและกระบอกซอต้องเสมอกัน คันชักและมุมองศาของซอควรอยู่ในแนวตรง
ปลายคันชักและคันซอไม่ควรวางแนวขึ้นบนสูงหรือเคลื่อนที่อยู่ในแนวลงต่ำ
ไม่อย่างนั้นมีผลกระทบต่อการออกเสียงที่ดี ทำให้เกิดเสียงที่หยาบหรือล่องลอยขึ้นมา
นอกจากนี้เวลาที่สีคันชักนั้นทิศทางต้องตรง
ดังที่ว่าสีคันชักหนึ่งสายเหมือนสายหนึ่งเส้น ดังนั้น ผิดขาดจากการสั่นภายในและนอก
ไม่อย่างนั้นจะทำให้เกิดเสียงที่ไม่ดี
ทั่วไปช่วงคันชักของซอเอ้อหูสามารถแบ่งออกเป็นเต็มคันชัก,
คันชักครึ่งซ้าย, คันชักครึ่งขวา,
คันชักปลายและต้นคันชัก หลายๆส่วน
เต็มคันชักต้องสีคันชักให้หมด,
คันชักครึ่งซ้ายคือคันชักทั้งหมด 1/2 (จากกลางคันชักถึงปลาย)
คันชักครึ่งขวาคือ การใช้คันชักหนึ่งในสองของคันชักข้างขวา
(จากกลางคันชักถึงต้นคันชัก) คันชักกลางคือ
การใช้คันชักหนึ่งในสามของคันชักจากปลายคันชักทั้งหมด
เทคนิคควบคุมคันชัก
1.ฉางกง
การใช้วิธีการบรรเลงเพลงโดยการสีคันชักความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของคันชัก
เรียกว่า “ฉางกง”ฉางกงแบ่งเป็น
เฟินกงและเหลียงกง มีทั้งเร็วมีทั้งช้า
การเคลื่อนคันชักเริ่มจากศอกเคลื่อนจากซ้ายไปขวา
เวลาเคลื่อนคันชักเข้าก็จะเริ่มจากศอกเคลื่อนจากขวาไปซ้าย
ในขณะเคลื่อนคันชักอย่างช้า ต้องระวังความแรงของคันชักไม่ให้แรงเกินไป ไม่อย่างนั้นเสียงที่แสดงออกมากลายเป็นเสียงซ่าแสบหู
และกังวานทำลายบทเพลง ต้องพยายามผายไหล่ออกเพื่อควบคุมการเคลื่อนคันชัก
เพื่อให้เกิดเสียงเต็มไปด้วยพลัง
2.เฟินกง
เฟินกงคือ วิธีการสีคันชักขั้นพื้นฐานที่สุด
ในแต่ละครั้งเคลื่อนคันชักแค่เสียงเดียวเวลาที่บรรเลงเพลงเพราะว่าการสีแต่ละเสียงต้องเปลี่ยนการชักเข้าออก
หากว่าการเปลี่ยนการชักมีช่วงรอบมาก ทำให้มีผลกระทบบทเพลงที่ต่อเนื่อง
ดังนั้นในเวลาที่เรียนการเปลี่ยนการสีคันชัก ความรู้สึกของมือขวาคือ จุดสำคัญเบื้องต้นเวลาสีหนึ่งครั้งมีแค่หนึ่งเสียง
ดังนั้นการเคลื่อนไหวมือซ้ายที่กดเสียงและการเปลี่ยนคันชักต้องเข้ากันอย่างสนิท
ทำอย่างนี้ทุกเสียงจึงชัดเจนและแม่นยำ ทั่วไปเวลาที่สีช้าในเทคนิคเฟินกงต้องเคลื่อนคันชักที่ยาวเวลาที่สีเร็วในเทคนิคเฟินกงต้องเคลื่อนคันชักที่สั้น
3.เหลียนกง
ภายในหนึ่งคันชักบรรเลงสองเสียงหรือมากกว่าสองเสียงขึ้นไป
เทคนิคนี้เราเรียกว่า “เหลียนกง”
ความพิเศษของเหลียนกงคือ ภายในการชักหนึ่งครั้ง เสียงที่บรรเลงหลายเสียงติดต่ออย่างกลมกลืนเวลาที่บรรเลงต้องสนใจและกำกับ
คันชักให้ตรงกับ จังหวะและตัวโน๊ตเพลง โดยทั่วไปสีคันชัก 1
ครั้งมีสองเสียงขึ้นไป ปลายของคันชักต้องแบ่งแยกออกเป็นหลายส่วน ตัวอย่าง
จากปกติโดย 4 เสียง คันชักต้องแบ่งเป็น 4 ส่วนเป็นต้น ถ้าหากตัวโน๊ตน้อย เวลาสีคันชักจะสั้น ถ้าหากตัวโน๊ตมีมากเวลาสีคันชักจะยาวขึ้น
จังหวะที่ช้าในเทคนิคเหลียนกง ทำให้เสียงมีความอ่อนโยนเหมือนร้องเพลง
จังหวะที่เร็วใช้ในเทคนิคเหลียนกงคือ เสียงต่อเนื่องราบลื่น
4. ตุ้งกง
เทคนิคตุ้งกง คือ การสีคันชักหยุดเป็นช่วงๆ
หัวเสียงอย่างมีพลัง ทั่วไปแบ่งออกเป็น2 อย่างคือ
เฟินตุ้งกงและเหลียนตุ้งกง
แบบเฟินตุ้งกงคือ
เฟินกงเพิ่มหัวเสียงของเสียงเท่านั้น เวลาใช้เทคนิคนี้เน้นข้อมือขวาและแขนเป็นตัวหลักของการเคลื่อนไหว
ทุกครั้งหลังจากสีคันชัก นิ้วมือ อุ้งมือ
และไหล่ต้องรีบผ่อนคลายแต่ว่ามุมองศาของอุ้งมือไม่ต้องกลับที่เดิม
รอการสีคันชักแล้วค่อยๆ เคลื่อนไหวตามไหล่
แบบเหลียนตุ้งกงคือ
ภายในการสีหนึ่งครั้งกระตุกเสียงสองเสียงหรือมากกว่าสองเสียงขึ้นไปส่วนอื่นของการใช้เทคนิคเหมือนเฟินตุ้งกง
5. ฟ้านเสียน
เทคนิคฟ้านเสียน เน้นการสีเปลี่ยนสายในและสายนอกซอสลับกัน มันคือ วิธีการสำคัญที่สุด
เวลาบรรเลงต้องอาศัยคันชักควบคุมจนจบ
เทคนิคฟ้านเสียนของซอเอ้อหูต้องอาศัยความรู้สึกในการชักสายคันชักในและนอกที่แตกต่างกัน
มันไม่เหมือนเทคนิคฟ้านเสียนของการบรรเลงของไวโอลีนเพียงแต่ปรับแค่คันชักและมุมแป้นนิ้วมือก้ใช้ได้แล้ว
ดังนั้นในเวลาที่นักเรียนนจำเป็นต้องเจาะจงฟ้านเสียง
ขณะที่สายซอบรรเลงเพลงเร็วจำเป็นต้องสนใจที่สายคันชัก เวลาที่บรรเลงต่อตัวซอเป็นการควบคุมความรู้สึกที่แตกต่าง
ทำให้สายในข้อมือขวาและนิ้วมือเป็นหลัก เทคนิคฟ้านเสียน
ต้องเริ่มจากการเรียนฝึกที่ช้าไปเร็ว –การเคลื่อนไหวความรู้สึกหลายแบบของพื้นฐาน
ค่อยๆพัฒนา จากนั้นค่อยๆก้าวไปทีละขั้นค่อยๆทำให้สายในและสายนอกผสมกันได้
6.ไขว้กง
เทคนิคไขว้กงคือ
วิธีการบรรเลงอย่างรวดเร็วโดยเฟินกง เหมาะสมกับการแสดงออกถึงความสุข ความน่ารัก
ดีใจและตื่นเต้น ลักษณะพิเศษของไขว้กงคือ เสียงสั้น
การสีคันชักต้องรวดเร็วปกติในหนึ่งนาทีเคาะ 120 ครั้ง
ความเร็วที่มีอยู่ โดยใช้ตัวโน้ตแบบจังหวะส่วน 16 เวลาที่บรรเลงต้องใช้มือสองข้างควบคุมอย่างชำนาญเวลาที่บรรเลงตรงกลางคันชักอย่างปกติใช้จุดกลางคันชักสีสายซอ
วิธีการใช้ไขว้กงต้องแน่นและสั้น หากสองมือประสานไม่ดี ปัญหาสำคัญจะปรากฏ
คือด้านของมือขวาและมือซ้ายไม่ตรงกัน สาเหตุหนึ่งคือ วิธีการใช้ไขว้กงไม่ถูกต้อง
ทำให้ไหล่ขวาเกร็งเกินไป
มือซ้ายเกร็งตามมือขวาไปด้วย
ทำให้มือทั้งสองข้างไม่สามารถปล่อยวางและประสานกันอย่างเหมาะสมได้
วิธีการที่ถูกต้องของการไขว้กง
คือ มือขวาต้องไม่เกร็ง (ไม่ใช่การจับอย่างแน่น) วิธีการสำคัญ ที่นำการเคลื่อนไหว เหมือนอย่างที่เวลาใช้มือทำท่าพัดลมความรู้สึกเหมือนกัน
ในขณะที่คันชักเคลื่อนไหวซ้ายและขวา ข้อมือไม่ควรเกร็ง ขณะที่ไหล่ขวา
ศอกและข้อมือเวลาใช้เทคนิคนี้ ควรตั้งท่าและปล่อยวางอย่างธรรมชาติ
เวลาเดียวกันศอกขวาต้องมีความรู้สึกแรงสะท้อนต่อทิศทางที่เหมาะสม การเรียนฝึกหัดไขว้กงต้องเริ่มจากการสีช้าไปสีเร็วรอให้ทั้งสองมือประสานกันกลายเป็นความรู้สึกที่ชำนาญ
จากนั้นค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น ไม่อย่างนั้นทางด้านการเปลี่ยนท่าจะมีอุปสรรคมีผลกระทบต่อผลของไขว้กงที่ปกติ
7.จ้านกง
เทคนิคจ้านกง คือ การสั่นคันชักโดยไม่กำหนดจำนวนครั้ง
โดยอาศัยปลายคันชักบรรเลงและสี อย่างรวดเร็ว
การเคลื่อนคันชักมีใหญ่, เล็ก, ไหล, มิด, แข็งและอ่อน วิธีการบรรเลงมีหลายรูปแบบส่วนใหญ่การเคลื่อนคันชักมักลื่นไหลไปถึงเสียงแข็ง
เหมาะกับการแสดงความรุนแรง โชติช่วง เป็นอารมณ์ที่ตื่นเต้น เป็นต้น
เวลาที่ใช้เทคนิคนี้ปกติใช้ปลายคันชักเคลื่อนคันชักเบาและเร็ว
เหมาะกับการแสดงความลึก สงบเงียบลึกลับและสภาพที่กว้างไกล เป็นต้น
ขณะที่ใช้เทคนิคนี้ในการสีที่เบาและเร็วยิ่งต้องใช้จุดอยู่ที่ปลายของช่วงคันชักเวลาที่จ้านกงอย่างช้า
ช่วงไหล่ขวาทุกส่วนต้องผ่อนคลาย โดยเน้นช่วงข้อมือกระทบจุดอื่นของมือ
ในเวลาที่ค่อยๆ
แรงหรือค่อยๆ เบา บริเวณศูนย์รวมพลังของมือทุกส่วน
ต้องสามารถเคลื่อนไหวตามไว้อยู่ตลอด โดยตนเองจากบนลงล่างขึ้นบน
ทำให้พลังความรู้สึกเคลื่อนไหวขึ้นมา ทำอย่างนี้สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ได้
8. เภากง
เทคนิคเภากง คือ วิธีการอย่างหนึ่งในการบรรเลงที่มีสีสัน
โดยใช้ปลายคันชักสีอย่างธรรมชาติให้คล้ายสปริงในการสะบัดคันชัก
มักแสดงถึงอารมณ์ของม้าทะยานวิ่งหรืออารมณ์การกระโดดโลดเต้น
ปกติเภากงใช้ตัวโน้ตส่วน 16 เช่นรูปแบบการบรรเลง
เวลาบรรเลงหลังการบรรเลงเสียงแรกผ่านไปต้องนำคันชักยกขึ้นมาสะบัดให้เกิด 2 เสียงอยย่างต่อเนื่อง
เวลานั้นให้ส้นหางม้าชนที่กระบอกซอเกิดสองเสียงหรือสามเสียง
เภากงเหมาะสมกับจังหวะเร็ว ปกติแล้วเภากงสะบัดเกิดสองเสียง เป็นต้น
เวลาที่เทคนิคนี้ทางนิ้วขวาควรจับคันชักให้แน่น
บรรณานุกรม
จิติกานต์ จินารักษ์. (2551.) กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธ์ ถาวร กรณีศึกษาชุดเพลินเพลงพาทย์ระนาดเอก. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2550).
ดนตรีคลาสสิค: ศัพท์สำคัญ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ปัณฑ์ชนิต ปัญญะสังข์. (2550).
การสอนวิชาขับร้องสากล
: กรณีศึกษาโรงเรียนมีฟา
วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2551). เสียงจากสวรรค์ และโลก.[ออนไลน์].เข้าถึงจาก:
http://www.siameseproject.com/siamese/heavenandearth.html
(2552, เมษายน 16)
รุจิรา
วรพต. (2552). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนรายวิชาดนตรีสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่
6 ของโรงเรียนบ้านบ่อนางชิง จังหวัดสระแก้ว.กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัย
ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สมาคมไหหนำ.(2552).หนังสือที่ระลึกงานเปิดสมาคมไหหนำนครสวรรค์.
คณะกรรมการสมาคม
ไหหนำนครสวรรค์
12 ธันวาคม 2552
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ( 2550) . เอกสารแนบท้ายประกาศก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตาแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2550. กรุงเทพมหานคร:
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
มนุษยวิทยาการดนตรีคืออะไร